รูปแบบขดลวดเสียหาย

 

ความเสียหายขดลวดมอเตอร์รูปแบบต่างๆ   Post 3 Oct 16
 
ขดลวดสภาพปกติ

การใช้งานมอเตอร์ในสภาวะผิดปกติ (ด้านไฟฟ้า เครื่องกล หรือ สภาวะแวดล้อม) เป็นสิ่งที่ลดอายุการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้าให้สั้นลง

สาเหตุทั่วๆไป ที่ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย จะแสดงในภาพต่อไป


 
ระบบไฟฟ้าขาดเฟส (1เฟส), สตาร์

ความเสียหายจากระบบไฟฟ้าขาดเฟส เกิดจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ไม่ครบทั้ง 3 เฟส หายไป 1เฟสโดยที่ขดลวดมอเตอร์มีการต่อวงจรเป็นแบบ สตาร์

สาเหตุเกิดจาก ฟิวส์ขาด การเปิดวงจรของหน้าคอนแทคของคอนแทคเตอร์ หรือรอยต่อต่างๆของระบบจ่ายไฟ เกิดความเสียหาย หรือผิดปกติ


 
ระบบไฟฟ้าขาดเฟส (1เฟส), เดลต้า 

ความเสียหายจากระบบไฟฟ้าขาดเฟส เกิดจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ไม่ครบทั้ง 3 เฟส หายไป 1เฟสโดยที่ขดลวดมอเตอร์มีการต่อวงจรเป็นแบบ เดลต้า

สาเหตุเกิดจาก ฟิวส์ขาด การเปิดวงจรของหน้าคอนแทคของคอนแทคเตอร์ หรือรอยต่อต่างๆของระบบจ่ายไฟ เกิดความเสียหาย หรือผิดปกติ


 
 ขดลวดช๊อต แบบเฟส-เฟส

ความเสียหายแบบขดลวดช๊อตชนิด เฟส-เฟส เป็นผลจากฉนวนกั้นเฟสของขดลวดเกิดความเสียหาย ความเสียหายจุดนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเนื่องจากเป็นจุดที่มีแรงดันกระทำต่อฉนวนสูงที่สุด

สาเหตุเกิดจาก การปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน แรงสั่นสะเทือน มีแรงดันเสริทกระทำที่ฉนวนกั้นเฟส


 
ขดลวดช๊อต แบบเทิร์น-เทิร์น

ความเสียหายแบบขดลวดช๊อต ชนิดเทิร์น-เทิร์น (ช๊อตกันระหว่างรอบที่ใช้พัน)เป็นผลจากฉนวนหุ้มหรือเคลือบลวดทองแดง เกิดความเสียหาย

สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และแรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะแรงดัน Spice Voltage ที่เกิดจากอุปกรณ์ปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ(VSD)


ขดลวดช๊อต แบบคอยล์-คอยล์

ความเสียหายแบบขดลวดช๊อต ชนิดคอยล์-คอยล์ เป็นผลมาจากฉนวนเคลือบหรือหุ้มขดลวด หรือฉนวนกั้น(กระดาษ)ระหว่างคอยล์เกิดความเสียหาย

สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และแรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า 


ขดลวดลงกราวด์ตรงปากสล๊อต

ความเสียหายแบบขดลวดลงกราวด์ตรงปากสล๊อต เป็นผลมาจากฉนวนรองสล๊อต (ฉนวนกระดาษ)ตำแหน่งปากสล๊อตเกิดความเสียหาย ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่เกิดความเสียหายบ่อยครั้งเนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างขดลวดที่อยู่ในสล๊อตและขดลวดที่อยู่นอกสล๊อต เนื่องจากเกิดการขยับตัวที่แตกต่างกันขณะสตาร์ทมอเตอร์ ซึ่งเป็นผลทำให้ฉนวนตำแหน่งนี้เกิดความเสียหายได้ง่าย

สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และแรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า และการสตาร์ทมอเตอร์บ่อยครั้ง

 
 
ขดลวดลงกราวด์ในสล๊อต

ความเสียหายแบบขดลวดลงกราวด์ในสลีอต เป็นผลมาจากฉนวนหุ้มหรือเคลือบขดลวด ฉนวนหรือกระดาษกั้นชั้นขดลวด และฉนวนหรือกระดาษรองสล๊อต เกิดความเสียหาย

สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และ แรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า 

 
ขดลวดช๊อตตำแหน่งจุดต่อวงจร

ความเสียหายแบบจุดต่อขดลวดช๊อตเสียหาย เป็นรูปแบบที่พบไม่มาก เกิดจากฉนวนเคลือบขดลวด ฉนวนกั้นเฟส ปลอกสายหุ้มรอยต่อ และสายหลีด(สายต่อออกไปเทอร์มินอล) ตำแหน่งที่มีการต่อสาย เกิดความเสียหาย

สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล แรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า  หรือการเข้าสายเทอร์มินอลของมอเตอร์ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในสายหลีดและลามมายังจุดต่อภายในมอเตอร์

 
 
ขดลวดไหม้เกิดจากแรงดันไม่สมดุล

ขดลวดไหม้ ที่เกิดจากแรงดันไม่สมดุล เป็นผลจากค่าแรงดันระหว่างเฟสของแหล่งจ่ายไม่เท่ากัน ส่งผลให้มอเตอร์มีกระแสไหลผ่านขดลวดแต่ละเฟสไม่เท่ากัน เฟสไหนมีแรงดันสูงกว่าจะจ่ายกระแสมากกว่า เพื่อชดเชยค่าแรงบิดจ่ายออกของมอเตอร์ที่สูญเสียไป

สาเหตุเกิดจาก แหล่งจ่ายที่มีโหลดไม่สมดุล จุดต่อต่างทางไฟฟ้าภายนอกและภายในมอเตอร์มีค่าสูง หรือผิดปกติ เช่น หน้าคอนแทคของแมกเนติกคอนแทรคเตอร์ที่มีสปริงที่อ่อน

ค่าความไม่สมดุลของแรงดัน 1 เปอร์เซนต์จะทำให้เกิด กระแสไม่สมดุลย์ 6-10 เปอร์เซนต์

 
ขดลวดไหม้เกิดจาการใช้งานเกินพิกัด

ความเสียหายแบบขดลวดไหม้ ที่เกิดจากการใช้งานเกินพิกัด  ขดลวดจะมีลักษณะไหม้เกรียมเป็นสีดำเป็นผลมาจากความร้อนที่เกิดจากการใช้งานมอเตอร์  เกินกว่าพิกัดกระแสที่เนมเพลท โดยจะไหม้เหมือนกันหมดทั้ง 3 เฟส

ข้อสังเกตุ การใช้งานมอเตอร์ภายใต้เงื่อนไขแรงดันต่ำกว่าหรือสูงกว่า สแตนดาร์ต ทั้ง NEMA และ IEC จะมีลักษณะความเสียหายคล้ายกับความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานเกินกระแสพิกัด หรือโอเวอร์โหลด

 
 
ความเสียหายเกิดจากโรเตอร์ล๊อค

ความเสียหายที่เกิดจากการล๊อคของโรเตอร์   เป็นผลจากความร้อนปริมาณมาก  ที่เกิดจากสภาวะการหยุดหมุนของโรเตอร์ โดยมีแรงดันค่าพิกัดจ่ายเข้าขดลวดมอเตอร์ ส่งผลทำให้กระแสโรเตอร์ ซึ่งเป็นสัดส่วนกับ      กระแสสเตเตอร์(Transformer Effect) มีค่าสูงอย่างมากเป็นเวลานานเกินพิกัดเวลา จีงส่งผลโรเตอร์เกิดความเสียหาย

สาเหตุเกิดจาก โหลดผิดปกติ มีจำนวนครั้งการสตาร์ทมอเตอร์มากเกินพิกัด หรือเกิดการกลับทางหมุนที่ไม่ถูกต้อง(ทันทีทันใดโดยไม่รอมอเตอร์หยุดหมุนก่อน)

 
ขดลวดช๊อตเกิดจากแรงดันเสริท

ความเสียหายขดลวดช๊อต ที่เกิดจากแรงดันเสริท เกิดจากแรงดันเสริทที่ผิดปกติของระบบไฟฟ้า วิ่งเข้าหา      มอเตอร์ทำให้ฉนวนในส่วนต่างๆของมอเตอร์ ซึ่งได้แก่ฉนวนเคลือบลวด ฉนวนกั้นเฟส ฉนวนรองสล๊อตเกิดความเสียหาย เนื่องจากแรงดันเสริท มีค่าเกินคุณสมบัติการทนค่าแรงดันของฉนวน

สาเหตุเกิดจาก วงจรสวิทชิ่งของเพาะเวอร์ซัพพลาย ฟ้าผ่า การดิสชาร์ทของตัวเก็บประจุ และแหล่งจ่ายที่ทำงานด้วยอุปกรณ์โซลิดสเตท

 
แหล่งอ้างอิง : Failure in Three-Phase Stator Winding , EASA
#1 โดย: แจ๊ค [IP: 183.88.139.xxx]
เมื่อ: 2018-10-06 18:59:44
เนื้อหากระชับและตรงประเด็นดีครับ ขอบคุณที่แบ่งปันข้อมูลครับ
#2 โดย: ตูน [IP: 223.24.175.xxx]
เมื่อ: 2018-12-08 08:50:49
ทำไม​สา​ยต่อ​มอเตอร์​ถึงไหม้ครับเพราะ
#3 โดย: ช่างซ่อมมอเตอร์ [IP: 171.5.243.xxx]
เมื่อ: 2019-06-30 09:24:26
สายต่อมอเตอร์เป็นจุดที่ขดลวด เริ่มได้รับแรงดันเสริท จากระบบเป็นจุดแรก
#4 โดย: sibthidk [IP: 223.24.159.xxx]
เมื่อ: 2020-03-07 14:07:22
สภาพขดลวดปกติแต่จ่ายไฟเข้าแล้วมอเตอร์ไม่หมุนเกิดจากอะไรครับ
#5 โดย: ช่าวซ่อมมอเตอร์ [IP: 1.47.96.xxx]
เมื่อ: 2021-06-20 00:23:56
ถ้าเกิดการช็อตแล้วมอเตอร์ยังทำงานได้อยู่แต่มอเตอร์ร้อนมากเป็นช็อตแบบไหนครับ
#6 โดย: ามชาย [IP: 223.24.190.xxx]
เมื่อ: 2021-10-07 09:39:15
ต้องการรู้วิธีเปลื่นคอนเดรเซอร์
#7 โดย: สมเดียรติ [IP: 184.22.118.xxx]
เมื่อ: 2022-11-02 04:57:41
อยากเรียนวิธีการซ่อมพัดลมเบื้องต้น
#8 โดย: Sp [IP: 49.237.33.xxx]
เมื่อ: 2023-07-07 10:21:56
ดีมากได้ความและประสบการณ์ขออาการมอเตอร์กับลักษณ์มอเตอร์ที่เป็นนะครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 73,035