รูปแบบขดลวดเสียหาย
ความเสียหายขดลวดมอเตอร์รูปแบบต่างๆ Post 3 Oct 16 |
ขดลวดสภาพปกติ |
การใช้งานมอเตอร์ในสภาวะผิดปกติ (ด้านไฟฟ้า เครื่องกล หรือ สภาวะแวดล้อม) เป็นสิ่งที่ลดอายุการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้าให้สั้นลง สาเหตุทั่วๆไป ที่ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย จะแสดงในภาพต่อไป |
ระบบไฟฟ้าขาดเฟส (1เฟส), สตาร์ |
ความเสียหายจากระบบไฟฟ้าขาดเฟส เกิดจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ไม่ครบทั้ง 3 เฟส หายไป 1เฟสโดยที่ขดลวดมอเตอร์มีการต่อวงจรเป็นแบบ สตาร์ สาเหตุเกิดจาก ฟิวส์ขาด การเปิดวงจรของหน้าคอนแทคของคอนแทคเตอร์ หรือรอยต่อต่างๆของระบบจ่ายไฟ เกิดความเสียหาย หรือผิดปกติ |
ระบบไฟฟ้าขาดเฟส (1เฟส), เดลต้า |
ความเสียหายจากระบบไฟฟ้าขาดเฟส เกิดจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ไม่ครบทั้ง 3 เฟส หายไป 1เฟสโดยที่ขดลวดมอเตอร์มีการต่อวงจรเป็นแบบ เดลต้า สาเหตุเกิดจาก ฟิวส์ขาด การเปิดวงจรของหน้าคอนแทคของคอนแทคเตอร์ หรือรอยต่อต่างๆของระบบจ่ายไฟ เกิดความเสียหาย หรือผิดปกติ |
ขดลวดช๊อต แบบเฟส-เฟส |
ความเสียหายแบบขดลวดช๊อตชนิด เฟส-เฟส เป็นผลจากฉนวนกั้นเฟสของขดลวดเกิดความเสียหาย ความเสียหายจุดนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเนื่องจากเป็นจุดที่มีแรงดันกระทำต่อฉนวนสูงที่สุด สาเหตุเกิดจาก การปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน แรงสั่นสะเทือน มีแรงดันเสริทกระทำที่ฉนวนกั้นเฟส |
ขดลวดช๊อต แบบเทิร์น-เทิร์น |
ความเสียหายแบบขดลวดช๊อต ชนิดเทิร์น-เทิร์น (ช๊อตกันระหว่างรอบที่ใช้พัน)เป็นผลจากฉนวนหุ้มหรือเคลือบลวดทองแดง เกิดความเสียหาย สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และแรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะแรงดัน Spice Voltage ที่เกิดจากอุปกรณ์ปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ(VSD) |
ขดลวดช๊อต แบบคอยล์-คอยล์ |
ความเสียหายแบบขดลวดช๊อต ชนิดคอยล์-คอยล์ เป็นผลมาจากฉนวนเคลือบหรือหุ้มขดลวด หรือฉนวนกั้น(กระดาษ)ระหว่างคอยล์เกิดความเสียหาย สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และแรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า |
ขดลวดลงกราวด์ตรงปากสล๊อต |
ความเสียหายแบบขดลวดลงกราวด์ตรงปากสล๊อต เป็นผลมาจากฉนวนรองสล๊อต (ฉนวนกระดาษ)ตำแหน่งปากสล๊อตเกิดความเสียหาย ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่เกิดความเสียหายบ่อยครั้งเนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างขดลวดที่อยู่ในสล๊อตและขดลวดที่อยู่นอกสล๊อต เนื่องจากเกิดการขยับตัวที่แตกต่างกันขณะสตาร์ทมอเตอร์ ซึ่งเป็นผลทำให้ฉนวนตำแหน่งนี้เกิดความเสียหายได้ง่าย สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และแรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า และการสตาร์ทมอเตอร์บ่อยครั้ง |
|
ขดลวดลงกราวด์ในสล๊อต |
ความเสียหายแบบขดลวดลงกราวด์ในสลีอต เป็นผลมาจากฉนวนหุ้มหรือเคลือบขดลวด ฉนวนหรือกระดาษกั้นชั้นขดลวด และฉนวนหรือกระดาษรองสล๊อต เกิดความเสียหาย สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล และ แรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า |
|
ขดลวดช๊อตตำแหน่งจุดต่อวงจร |
ความเสียหายแบบจุดต่อขดลวดช๊อตเสียหาย เป็นรูปแบบที่พบไม่มาก เกิดจากฉนวนเคลือบขดลวด ฉนวนกั้นเฟส ปลอกสายหุ้มรอยต่อ และสายหลีด(สายต่อออกไปเทอร์มินอล) ตำแหน่งที่มีการต่อสาย เกิดความเสียหาย สาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เกิดการกัดกร่อน เกิดการสั่นสะเทือน แรงกระทำทางกล แรงดันเสริทจากระบบไฟฟ้า หรือการเข้าสายเทอร์มินอลของมอเตอร์ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในสายหลีดและลามมายังจุดต่อภายในมอเตอร์ |
|
ขดลวดไหม้เกิดจากแรงดันไม่สมดุล |
ขดลวดไหม้ ที่เกิดจากแรงดันไม่สมดุล เป็นผลจากค่าแรงดันระหว่างเฟสของแหล่งจ่ายไม่เท่ากัน ส่งผลให้มอเตอร์มีกระแสไหลผ่านขดลวดแต่ละเฟสไม่เท่ากัน เฟสไหนมีแรงดันสูงกว่าจะจ่ายกระแสมากกว่า เพื่อชดเชยค่าแรงบิดจ่ายออกของมอเตอร์ที่สูญเสียไป สาเหตุเกิดจาก แหล่งจ่ายที่มีโหลดไม่สมดุล จุดต่อต่างทางไฟฟ้าภายนอกและภายในมอเตอร์มีค่าสูง หรือผิดปกติ เช่น หน้าคอนแทคของแมกเนติกคอนแทรคเตอร์ที่มีสปริงที่อ่อน ค่าความไม่สมดุลของแรงดัน 1 เปอร์เซนต์จะทำให้เกิด กระแสไม่สมดุลย์ 6-10 เปอร์เซนต์ |
|
ขดลวดไหม้เกิดจาการใช้งานเกินพิกัด |
ความเสียหายแบบขดลวดไหม้ ที่เกิดจากการใช้งานเกินพิกัด ขดลวดจะมีลักษณะไหม้เกรียมเป็นสีดำเป็นผลมาจากความร้อนที่เกิดจากการใช้งานมอเตอร์ เกินกว่าพิกัดกระแสที่เนมเพลท โดยจะไหม้เหมือนกันหมดทั้ง 3 เฟส ข้อสังเกตุ การใช้งานมอเตอร์ภายใต้เงื่อนไขแรงดันต่ำกว่าหรือสูงกว่า สแตนดาร์ต ทั้ง NEMA และ IEC จะมีลักษณะความเสียหายคล้ายกับความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานเกินกระแสพิกัด หรือโอเวอร์โหลด |
|
ความเสียหายเกิดจากโรเตอร์ล๊อค |
ความเสียหายที่เกิดจากการล๊อคของโรเตอร์ เป็นผลจากความร้อนปริมาณมาก ที่เกิดจากสภาวะการหยุดหมุนของโรเตอร์ โดยมีแรงดันค่าพิกัดจ่ายเข้าขดลวดมอเตอร์ ส่งผลทำให้กระแสโรเตอร์ ซึ่งเป็นสัดส่วนกับ กระแสสเตเตอร์(Transformer Effect) มีค่าสูงอย่างมากเป็นเวลานานเกินพิกัดเวลา จีงส่งผลโรเตอร์เกิดความเสียหาย สาเหตุเกิดจาก โหลดผิดปกติ มีจำนวนครั้งการสตาร์ทมอเตอร์มากเกินพิกัด หรือเกิดการกลับทางหมุนที่ไม่ถูกต้อง(ทันทีทันใดโดยไม่รอมอเตอร์หยุดหมุนก่อน) |
|
ขดลวดช๊อตเกิดจากแรงดันเสริท |
ความเสียหายขดลวดช๊อต ที่เกิดจากแรงดันเสริท เกิดจากแรงดันเสริทที่ผิดปกติของระบบไฟฟ้า วิ่งเข้าหา มอเตอร์ทำให้ฉนวนในส่วนต่างๆของมอเตอร์ ซึ่งได้แก่ฉนวนเคลือบลวด ฉนวนกั้นเฟส ฉนวนรองสล๊อตเกิดความเสียหาย เนื่องจากแรงดันเสริท มีค่าเกินคุณสมบัติการทนค่าแรงดันของฉนวน สาเหตุเกิดจาก วงจรสวิทชิ่งของเพาะเวอร์ซัพพลาย ฟ้าผ่า การดิสชาร์ทของตัวเก็บประจุ และแหล่งจ่ายที่ทำงานด้วยอุปกรณ์โซลิดสเตท |
|
แหล่งอ้างอิง : Failure in Three-Phase Stator Winding , EASA |
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments